เว็บไซต์​ ดร.สมชาย​ หาญ​หิรัญ​ ช่องทางอีกช่องทางหนึ่งในการแลกเปลี่ยนความคิด ความรู้และข่าวสารครับ

thzh-CNenja

ประกาศเลื่อนการตัดสินใจของ กสทช.

พอประกาศเลื่อนการตัดสินใจของ กสทช. ผมก็พอเข้าใจในความยุ่งยากของการตัดสินใจของ กสทช. เพราะเรื่องนี้หากมองในมุมของผู้บริโภคแล้ว ในระยะสั้น อย่างไงก็มีแต่เสียกับเสีย เนื่องจากตลาดมือถือจะกลายเป็น Duopoly ชัดเจน และใครเรียนเศรษฐศาสตร์มาก็พอเห็นภาพว่าราคาสินค้าขึ้นอยู่กับจำนวนผู้เล่นในตลาด หากกรณีนี้จำนวนผู้เล่นลดลงจากสามรายใหญ่เหลือสอง อย่างไรราคาก็ขึ้น แม้ว่าจะมีราคาควบคุมจาก กสทช. ก็ตาม ราคาตลาดจะวิ่งขึ้นไปชนราคาเพดานที่กำหนด ถ้าราคาที่กำไรสูงสุดของเขาเกินราคาควบคุม ... แต่ที่แน่ๆ โอกาสที่ราคาค่าบริการจะลดลงเหมือนในอดีตที่ผ่านมาคงไม่มีให้เห็นหรือมีโอกาสยากมาก ….. หากสนใจ ลองกัดฟันศึกษา Courtnot' s Duopoly equilibrium ดูครับ ..
อยากทำความเข้าใจว่า ในโลกความจริงนั้น หากมองในช่วงที่ผ่านมา ราคาค่าบริการลดลงตลอด เพราะระดับการแข่งขันเพิ่มขึ้น ทั้งจำนวนผู้เล่น เงื่อนไข กติกา ที่เปลี่ยนไป ทำให้บริการของแต่ละผู้เล่นสามารถทดแทนกันได้ ... และนี้ต่างหากที่ทำให้ตลาดมือถือเป็นตลาดแข่งขันที่แท้จริง .. แต่ถ้าจำนวนผู้เล่นลดลง การ collude ผ่านกลยุทธ์ทางการตลาดทำได้ง่ายในโครงสร้างตลาดแบบนี้ครับ ...
ถ้ามองแค่นี้ อย่างไงผู้บริโภคก็เสียกับเสียครับ แล้วลามไปถึง ราคาค่าบริการแพงขึ้น ต้นทุนธุรกิจแพง เกิดเงินเฟ้อ และจบที่ GDP ลด ... แบบนี้ก็คิดได้ ครับ นักวิชาการมรโมเดลอยู่แล้ว... ดังนั้น ข้อสมมติของความเสียหายที่จะเกิดกับสังคมนั้นก็คือ ผู้เล่นที่ผ่านการรวมตัวได้ใช้ประโยชน์จากดีกรีการผูกขาดที่เพิ่มขึ้นในการขยับราคาไปอยู่ที่ดุลยภาพที่เป็นราคาที่สูงกว่าเดิม ที่เป็นราคาที่ได้กำไรสูงสุดในโครงสร้างใหม่หลังการรวมตัว ... เพราะที่ผ่านมาแทบจะยังไม่เห็นกรณีศึกษาที่การกระจุกตัวที่เพิ่มขึ้นของธุรกิจจะทำให้ราคาลดลงเลย
แต่ถ้ามองอีกด้านของเหรียญ หากไม่ควบรวม ธุรกิจนี้ต้องหาทุนอีกมากในการลงทุนให้ทันกับเทคโนโลยีที่เดินไปไกลและไวมาก G6 กำลังมาแล้ว ... ธุรกิจที่ให้บริการในธุรกิจที่ใกล้เคียงกันและสนับสนุนกันจำเป็นต้อง Convergence เข้าหากันเพื่อแชร์ต้นทุน แชร์ความรู้ แขร์ความชำนาญ แชร์ facilities เพื่อความสามารถในการแข่งขันที่ดีขึ้น และอื่นๆ ผ่าน การให้บริการที่ดีขึ้น ลดต้นทุน ฯลฯ .... หากไม่รวมตัวกันเพื่อสิ่งเหล่านี้ แล้วผู้เล่นเหล่านี้หาทุนไปต่อไม่ได้เท่ารายใหญ่ๆ ของโลกที่จ้องเข้ามาบ้านเรา จะเกิดอะไรขึ้น .. อะไรคือต้นทุนที่เกิดจากสิ่งนี้ ..หากเขามาพร้อมทุนและเทคโนโลยีที่เหนือกว่า.... และจะทำให้ธุรกิจนี้กลายเป็นผูกขาดแบบธรรมชาติหรือไม่ ...แล้วอะไรจะเกิดขึ้นตอนนั้น ราคาแพงหรือไม่ เงินเฟ้อ GDP ก็ว่ากันไป .... และนี่คือ opportunity loss ที่ต้องมองในการตัดสินใจวันนี้ด้วย
หากจะบอกว่า เรามี กสทช. เป็น Engel ผู้ดูแลผู้บริโภค ไม่ให้เหตุการณ์ต่างๆ เกี่ยวกับการผูกขาด และจะดูแลผลประโยชน์ผู้บริโภคเป็นสำคัญ เพราะผมเชื่อว่าอย่างไรดีกรีการผูกขาดก็จะเพิ่มขึ้นในธุรกิจนี้ในอนาคต ... เพราะโครงสร้างธุรกิจถูกบีบไปทางนั้น .. เราก็ได้แต่ฝากความหวังว่า กสทช. จะเป็น Engel ที่ดูแลผลประโยชน์สาธารณะในภาพรวมได้ดี แม้จะเหนื่อยใจหน่อยครับ เพราะไม่ว่าจะออกแบบไหน คงโดนอีกฝ่ายฟ้อง ... หากอนุญาตให้รวมตัวกันได้ แต่ต้องมีเงื่อนไขอะไรตามมาเพื่อลดผลกระทบต่อผู้บริโภค .. เช่น ขายกิจการบางอย่างออกไป หรือ การกำหนดราคาอีกแบบต่างจากที่เป็นอยู่ ...เป็นต้น
รอดูต่อไป หลังจากรอมาหลายเดือน